วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

การผสมค็อกเทล

การผสมค็อกเทล
      ค็อกเทล (COCKTAIL)
  1. ได้จากการผสมเหล้าชนิดต่างๆหรือส่วนผสมอื่นๆ เข้าด้วยกัน โดยมีส่วนผสมที่แน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนผสมแต่ละชนิดและจะทำให้มีรสชาติ สีสันที่แตกต่างกัน รูปแบบต่างๆ ค่อนข้างจะมีกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องและแน่นอนโดยชี้เฉพาะลงไปว่า

     
  • เครื่องปรุง กี่อย่าง
  • อัตราส่วน เท่าไหร่
  • สีสัน เป็นอย่างไร
  • รสชาติ เป็นอย่างไร
  • ภาชนะที่ใช้บรรจุ ประเภทไหน
  • เครื่องประดับตกแต่ง เป็นอย่างไร                                                                                                            อุปกรณ์ในการผสมค็อกเทล เช่นช้อนบาร์ยาวๆสำหรับคน ไม้คนสั้น ไม้คนยาว ที่กรองเฉพาะน้ำ ที่เปิดขวด ที่เปิดกระป๋อง มีดหั่นผลไม้ ที่เปิดขวดไวน์ และแก้วรูปทรงและขนาดต่างๆ  ค็อกเทล เมื่อผสมหรือเชคเสร็จ ก็จะถูกจัดใส่ลงในแก้วที่มีขนาดพอเหมาะ แล้วควรมีเครื่องประดับที่ปากแก้ว ซึ่งควรใช้เฉพาะที่รับประทานได้ เช่นผลไม้สด ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม หรือผัก เช่น ขึ้นฉ่าย (ซาลารี่) สะระแหน่ เป็นต้น พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้เสียบผลไม้ประดับ (Cocktail Pick) หรือจะใช้ไม้จิ้มฟัน นอกจากนี้อาจมีหลอดไม้คนเหล้าไว้ใช้กับเครื่องดื่มผสมในสูตรต่างๆ 

  • ค็อกเทล แบ่งออกได้ 4 ชนิด คือ
    1. แอพเพอริทิฟ ค็อกเทล (Aperitif Cocktail)   นิยมดื่มก่อนอาหาร เพื่อเรียกน้ำย่อย เช่น Martini, Manhattan, Old Fashion
    2. ค็อกเทล (Cocktail) เครื่องดื่มที่นิยนดื่มในงานเลี้ยงต่างๆ มีรสหวานและมีการผสมผลไม้ต่างๆ เช่น Pink Lady, Bacadi Cocktail, Alexander
    3. ไฮบอล หรือ ลองดริ๊งค์ (Highball or Long Drink) นิยมดื่มแก้กระหาย มีน้ำผลไม้และน้ำเชื่อมเป็นส่วนผสม ทำให้มีรสเปรี้ยว หวาน เช่น Fizz, Collins
    สะติมิวแลนท์ ( Stimulant) เหมาะสำหรับบำรุงร่างกาย เพราะมี ครีม ไข่ นมสด ผสมอยู่ ส่วนมากนิยมดื่มในตอนเช้า เช่น Egg Nog, Flips
          
         วิธีการผสมเครื่องดื่ม
    การผสมเครื่องดื่มก็มีกรรมวิธีหลายอย่างทั้งแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย และค่อยๆยุ่งยากขึ้นตามลำดับ
    1. การริน หรือ เท (To Build) เราไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย เป็นการผสมลงในแก้วที่ใช้เสิร์ฟ โดยตวงส่วนผสมลงในแก้วให้ครบส่วน
      • การผสมแบบเทลงไปในแก้ว ไฮบอล
        • แก้ว   =  ไฮบอล
        • น้ำแข็ง  =  น้ำแข็งยูนิตหรือน้ำแข็งก้อน
        • ชนิดเหล้า = แล้วแต่สูตรหรือลูกค้าสั่ง
        • ส่วนผสมอื่นๆ = น้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีรสซ่า
      • การผสมแบบ ออน เดอะ ร็อค
        • แก้ว  =  ออน เดอะ ร็อค
        • น้ำแข็ง  =  น้ำแข็งยูนิตหรือน้ำแข็งก้อน
        • ชนิดเหล้า = แล้วแต่สูตรหรือลูกค้าสั่ง
      • การผสมแบบ สะเตทอัพ
                                                                                                         
        • แก้ว  =  ลิเคียว
        • ชนิดเหล้า = แล้วแต่สูตรหรือลูกค้าสั่ง                          
      สรุปขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการผสมแบบ ริน (To Built)
      1. แก้ว ไฮบอล หรือ ออน เดอะ ร็อค หรือแก้วลิเคียว
      2. น้ำแข็งก้อน (Ice Cubes)
      3. ที่สำหรับตวง (Jigger)
      4. เหล้าที่จะใช้ (Liquour Base)
      5. สูตร หรือส่วนผสม (Mixer)
      6. คนให้เข้ากัน (Stir Well)
      7. ประดับ ตกแต่ง (Gernish)
      8. เสริฟด้วย ไม้คนเหล้า (Served With Stir)

         
    2. การคน (To Stir)  คือการผสมแบบคนส่วนผสมจากภาชนะอื่นผสมกับน้ำแข็งแล้วกรองเอาเฉพาะน้ำเสิร์ฟไม่ให้มีน้ำแข็งปะปนลงไปด้วย ซึ่งตามบาร์มาตรฐานจะมีที่กรองน้ำแข็งที่เราเรียนกว่า Strainer   แล้วเทลงแก้วประเภทสั้น เพียงเพื่อต้องการให้
      • มีความเย็นพอประมาณ
      • ต้องการให้เหล้าผสมเข้ากันได้ดี
      • คงความเข้มข้นของรสชาติให้เหมือนเดิม
      • สีสรรและกลิ่นไม่เปลี่ยน
         

      สรุปขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการผสมแบบ คน (To Stir)


      1. แก้ว หรือ เชคเกอร์ ทีใช้สำหรับผสม (Mixer Glass or Shaker)
      2. สูตร หรือส่วนผสม (Mixer)
      3. ที่สำหรับตวง (Jigger)
      4. น้ำแข็งก้อน (Ice Cubes)
      5. ช้อนบาร์ (Bar Spoon)
      6. ที่สำหรับกรองเหล้า (Cocktail Strianer)
      7. แก้วสั้น (Short Glass)
      8. ประดับ ตกแต่ง (Gernish)
      ค็อกเทลชนิดนี้เป็นประเภท
      • เหล้า + เหล้า + น้ำแข็ง
      • เหล้า + เหล้า + บิทเทอร์ + น้ำแข็ง
      • เหล้า + เหล้า + บิทเทอร์ + ไซรัป + น้ำแข็ง
      • เหล้า + บิทเทอร์ + ไซรัป + น้ำแข็ง

         
    3. การเขย่า (To Shake) คือการเขย่าให้เย็นการผสมแบบนี้มักใช้กับค็อกเทลที่มีส่วนผสมที่เข้ากันค่อนข้างยาก จึงต้องใช้แรงเขย่าเข้าช่วย อุปกรณ์ที่ใช้เขย่าเรียกว่า เชคเกอร์ (Shaker)

      • Shake Non Ice  คือ เขย่าให้เย็น ถึงเย็นจัด จากเชคเกอร์ แล้วกรองเอาแต่น้ำ เทใส่แก้วที่จะเสริฟ  เหตุผลที่ต้องผสมแบบนี้คือ
        • วัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสม เป็นของเหลวที่มีความเข้มข้นต่างกัน
        • ต้องการความผสมผสานและความกลมกลืนของเหล้าอย่างมาก
        • ต้องการความมาตรฐานในการปรุง
        • ความเย็นที่ปรุงได้เป็นสิ่งจำเป็นของเหล้าประเภทนี้
        • ต้องการ สีสัน กลิ่น ความกลมกลืนของเหล้าที่ได้สัดส่วน
      สรุปขั้นตอนปฏิบัติของการผสมแบบ Shake Non Ice
      • เครื่องที่ใช้เขย่า ( Cocktail Shaker)
      • สูตร หรือส่วนผสม (Mixer)
      • ที่สำหรับตวง (Jigger)
      • น้ำแข็งก้อน (Ice Cubes)
      • แก้ว ( Glass)
      • ประดับ ตกแต่ง (Gernish)
      • Shake Ice คือ ลักษณะของเครื่องดื่มประเภท ลองดริ๊ง (Long Drink) เขย่าให้เข้ากันแล้วเทรวมกันทั้งน้ำและน้ำแข็ง ในแก้วทรงสูง ประดับให้ดูเหมาะสมและสวยงาม เสริฟพร้อมหลอดดูด

         
    4. การปั่น (Blender) คือการปั่นด้วยเครื่องไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องดื่มเย็นจัด โดยการใส่ส่วนผสมที่ต้องการลงในเครื่องปั่นพร้อมน้ำแข็งจะได้เครื่องดื่มเป็นเกล็ดเย็นจัด การผสมเครื่องดื่มโดยการปั่น
      มักจะใช้กับส่วนผสมที่เป็นชิ้นๆ และเข้ากันค่อนข้างยาก เช่น ผลไม้ น้ำผลไม้ ครีม ไอศกรีม น้ำแข็ง เป็นต้น  จุดประสงค์ของการผสมแบบนี้คือ

      • ต้องการความเย็นจัดเป็นน้ำแข็ง (Frozon)
      • เครื่องปรุงเป็นเนื้อผลไม้
      • ต้องการปริมาณจำนวนมากในการผสมครั้งเดียว
      • เครื่องดื่มจะไม่มีความแตกต่างของสี กลิ่น และรสชาติ
      • ประหยัดเวลา

         
      สรุปขั้นตอนปฏิบัติของการผสมแบบ To Blend
                                                                                          
      • เครื่องปั่นน้ำผลไม้ ( Electric Blender)                                                
      • สูตร หรือส่วนผสม (Mixer)
      • ที่สำหรับตวง (Jigger)
      • น้ำแข็งก้อน (Ice Cubes)
      • แก้ว ( Glass)
      • ประดับ ตกแต่ง (Gernish)
      • หลอดดูด

         
    5. การจัดชั้น (To Layer) คือการรินส่วนผสมเบาๆลงบนหลังช้อนบาร์ โดยเรียงลำดับส่วนผสมตามความหนักเบาของวัตถุดิบ การจัดชั้นแบบนี้ต้องรู้ว่าวัตถุดิบหรือเหล้าชนิดไหน หนัก เบากว่ากัน  จุดประสงค์ที่ต้องผสมแบบนี้คือ
      • ต้องการความสวยงาม
      • ต้องการรสชาติที่แท้จริงและความเข้มข้นของเหล้า
      • ต้องการดื่มครั้งเดียวหมดแก้
      สรุปขั้นตอนปฏิบัติของการผสมแบบ To Layerแก้ว( Glass)

      • สูตร หรือส่วนผสม (Mixer)
      • ที่สำหรับตวง (Jigger)
      • ช้อนบาร์ (Bar Spoon)
      ค็อกเทลชนิดนี้เป็นประเภท
      • เหล้าหวาน + เหล้า 
      • เหล้าหวาน + เหล้าหวาน + เหล้าหวาน + เหล้า
      • ไซรัป + เหล้าหวาน + เหล้าหวาน + เหล้า
    ชื่อสกุลค็อกเทล (Cocktail Name Family)
    • ซาวร์ (Sour)    = เหล้า + ไซรัป + น้ำมะนาวสด
    • คอลลินส์ (Collins) =  (ซาวร์) + โซดา
    • สวิสเซล (Swizzle) = (คอลลินส์) + บิทเทอร์ + โซดา
    • ฟิซซ์ (Fizz)  = (คอลลินส์) + ไข่ขาว + โซดา
    • สลิง (Sling)  = (คอลลินส์) + ไข่ขาว + กรีนาดีน + โซดา
    • แดสเลส (Daisles) = (ซาวร์) + กรีนาดีน
    • ริคกี้ (Ricky)  = ไฮบอล + เหล้า + โซดา + น้ำมะนาว
    • บัค (Buck)  = ไฮบอล + น้ำมะนาว + โซดา
    • โอลด์แฟชั่น (Old Fashion) = ร็อค + เหล้า + ไซรัป + บิทเทอร์ + โซดา
    • มาร์ตินี่ (Martini)  = สุราสีขาว(White Spirit) + ดราย เวอร์มูท
    • แดคิวรี่ (Daiquiri)  = (ซาวร์) + ทริเปิ้ล เซค
    • ฟลิพ (Flip)  = เหล้า + ไข่แดง + ครีม + ถั่ว (Nut Mag)
    • คอฟฟี่ (Coffee)  = เหล้า + คอฟฟี่ + ครีม + ลิเคียว  

    Cocktail คืออะไร


    ค็อกเทล ?  

    ค็อกเทล หมายถึง...

       คำว่า “ค็อกเทล” (COCKTAIL) หมายถึง เครื่องดื่มผสมที่มีเหล้า (วัตถุดิบที่มีแอลกอฮอล์) 1 ชนิดหรือมากกว่าเป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่มแก้วนั้น เครื่องดื่มผสมบางแก้วมีส่วนประกอบที่เป็นเหล้าเป็นส่วน ประกอบชนิดเดียวหรือบางแก้วมีส่วนประกอบที่เป็นเหล้าถึง 3-4 ชนิด ยกตัวอย่างเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของ เหล้าเพียง 1 ชนิด เช่น สกูร ไดรฟเว่อร์ (SCREWDRIVER)ซึ่งมีวอดก้าที่เป็นเหล้าเป็นส่วนประกอบ บลัดดี้ แมรี่ (BLOODY - MARY) ซึ่งก็มีวอดก้าเป็นส่วนประกอบอีกเช่นกัน จิน โทนิค (Gin tonnic)มีจินที่เป็นเหล้าเป็นส่วนประกอบส่วนเครื่องดื่มที่มีส่วน ผสมของเหล้ามากกว่า 1 ชนิด เช่น สิงคโปร์ สลิง ( singapore Sling) มี จิน เชอร์รี่ บรั่นดี คอนโทร เป็นส่วนประกอบซอมบี้ (ZOMBIE) จะมีเหล้าอยู่ 3 ชนิด คือ รัมสีขาว รัมสีดำ และแอปริคอต - บรั่นดี  

    ค็อกเทล คืออะไร...  


    คำว่า “ค็อกเทล” หมายถึงเครื่องดื่มผสมที่มีเหล้า(วัตถุดิบที่มีแอลกอฮอล์)เป็นส่วนไม่มีเหล้าเป็นส่วนประกอบเราจะเรียกว่า“ม็อกเทล” (mocktail)   ประกอบส่วนเครื่องดื่มผสมที่ซึ่งม็อก (Mock) ในภาษาอังกฤษแปลว่า จำลองหรือสิ่งใด ๆที่เลียนแบบของจริง ดังนั้น”ม็อกเทล” ถ้าแปลตรงตัวจะแปลว่า เครื่องดื่มผสมที่ทำจำลองให้เหมือน “ค็อกเทล” เพียงแต่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ “ม็อกเทล”ส่วนมากจะเป็นเครื่องดื่มที่ทำ มาจากการผสมน้ำผลไม้ต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ก็มีไม่น้อยที่ใช้น้ำดื่มอัดลมเช่น 7-อัพโซดา โค้ก ไอศกรีม นมสด ครีม หรือแม้แต่กาแฟเป็นส่วนประกอบในการทำ”ม็อกเทล”ยกตัวอย่าง “ม็อกเทล”ที่รู้จักกันทั่วไป   คือ ฟรุทพั้นช์ (Fruit Punch) พุซซี่ ฟูท (Pussy Foot) เชอร์ลี่แทมเพิล (Shirley Temple)



                                                                                    

    ประวัติค็อกเทล


    ค็อกเทล (cocktail) เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่นํ้าแข็ง แล้วเขย่า และอาจใส่นํ้าผลไม้หรือชิ้นผลไม้เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป นิยมดื่มก่อนอาหาร

    ประวัติ
         ต้นกำเนิดของเครื่องดื่มค็อกเทลนั้นไม่ปรากฎชัด ส่วนการผสมเครื่องดื่มแบบนี้มีมาแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ในประเทศฝรั่งเศสโดยใช้เบียร์  เหล้า น้ำผึ้งเป็นหลักแล้วจึงนำมาผสมกับเหล้าที่ใส่เครื่องเทศ และมีพัฒนาการไปใช้ ไวน์ เหล้า เครื่องเทศ น้ำตาล ผลไม้ ผสมกัน โดยชาวฝรั่งเศสเรียกว่า coquetel (คอเกอเตล)
    ประมาณปีพ.ศ. 2310 ถึงพ.ศ.2326 ทหารฝรั่งเศสเดินทางไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงครามกับประเทศอังกฤษและทหารฝรั่งเศสได้ผสมเครื่องดื่มแบบนี้ดื่มกันและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหมู่ทหารของสหรัฐอเมริกา แม้สงครามจะหยุดลงแล้วความชื่นชอบในเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ยังคงอยู่ และแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนการเรียกขานชื่อคาดว่าเพี้ยนมาจากคำว่า coquetel (คอเกอเตล) ในภาษาฝรั่งเศส






    และชาวอเมริกาก็นิยมดื่มเครื่องดื่มนี้มากมักจะเรียกชื่อว่าค็อกเทอร์ “Cockters” และเรียกเพี้ยนไปเป็นค็อกเทล “Cocktail” จนติดปากมาจนถึงทุกวันนี้

    พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522

    หมวด 3 การร้องทุกข์และการสงเคราะห์
    มาตรา 31  ให้พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามระเบียบที่ คณะกรรมการกำหนด
    มาตรา 32  ให้ ททท. จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์ อื่นเพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างและครอบครัว ในกรณีพ้น จากตำแหน่งประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วยหรือกรณีอื่นอันควรแก่ การสงเคราะห์
    การจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่นตามวรรคหนึ่ง การออกเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ การกำหนดประเภทของ ผู้ที่พึงได้รับการสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ การจ่ายเงิน สงเคราะห์ และการจัดการกองทุนสงเคราะห์ให้เป็นไปตามข้อบังคับ ที่คณะกรรมการกำหนด