วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

yeshool


เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สามารถให้คำจำกัดความอย่างง่ายและสั้น คือ เครื่องดื่มที่ได้จากการหมักแล้วนำไปกลั่นหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ชนิดของเครื่องดื่มนั้น และเมื่อบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไปจะเป็นพิษ ต่อร่างกาย การแบ่งประเภท หรือชนิดของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก โดยยึดหลักlumวิธีการทำเครื่องดื่มมาเป็นบรรทัดฐานในการแบ่งแยกชนิด
    1. เครื่องดื่มที่ได้จากการหมัก
เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ สามารถนำมาหมักได้ทั้งนั้น โดยการเติมยีสต์ลงไปในเครื่องดื่มนั้น ๆ ปริมาณแอลกอฮอล์ที่อยู่ในเครื่องดื่มจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มนั้น น้ำตาลในเครื่องดื่มก็คือ อาหารสำหรับยีสต์ ถ้าเราจัดเสบียงอาหารให้กับยีสต์มาก ยีสต์ก็สามารถแพร่พันธุ์ เพิ่มจำนวนและมีชีวิตได้นาน แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มได้จากการที่ยีสต์กินน้ำตาล และในเวลาเดียวมันก็ผลิตแอลกอฮอล์ ขึ้นมาเหมือนสัตว์ประเภท เมื่อมีการบริโภคก็จะต้องมีการขับถ่าย ออกมาในขณะที่ยีสต์มีชีวิตและกินน้ำตาล ปริมาณแอลกอฮอล์ ในเครื่องดื่มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่เกิน 16 % โดยประมาณ เพราะถ้าปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 16 % แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มก็จะฆ่ายีสต์ตายหมด เมื่อยีสต์ตายขบวนการหมักก็จะหยุด ปริมาณแอลกอฮอล์ก็จะไม่เพิ่มขึ้น ยกกัวอย่างเครื่องดื่มที่ได้จากการหมักคือ เบียร์ไวน์ ถ้าท่านสังเกต เบียร์ที่มีชื่อเสียงและเป้นที่นิยมในตลาดส่วนใหญ่ จะมีแอลกอฮอล์ในปริมาณไม่เกิน 6 % ส่วนไวน์ไม่เกิน 15 % น้อยมากที่จะมีปริมาณสูงกว่านี้ เหตุผลก็คือว่า ไม่เป็นที่นิยม ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์มากก็จะทำให้รสชาติเปลี่ยนไปและบาดคอ
      
มีหลายวิธีที่จะทำให้ขบวนการหมักหยุด เพื่อจะได้ปริมาณแอลกอฮอล์ ตามที่ต้องการ เช่น การกรองเายีสต์ออกจากเครื่องดื่มการใช้ความร้อนเพื่อให้ยีสต์ตาย และอื่น ๆ แล้วแต่ละบริษัทสมารถคิดค้นขึ้นมาได้
2. เครื่องดื่มที่ได้จากการกลั่น
การกลั่น คือ การแยกแอลกอฮอล์ออกจากของเหลวที่ได้จาการหมักโดยอาศัยคุณสมบัติตามธรรมชาติของน้ำและแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะมีจุดเดือดที่ 78.5 องศา ส่วนน้ำที่มีจุดเดือดที่ 100 องศา ซึ่งแอลกอฮอล์ จะมีจุดเดือดที่ต่ำกว่าน้ำ เมื่อนำของเหลวที่ได้จากการหมัก มาต้มโดยให้ความร้อนคงที่ประมาณ 78.5 องศา แอลกอฮอล์จะระเหยขึ้นมาโดยจะไม่มีน้ำปะปน เมื่อไอแอลกอฮอล์ระเหยและผ่านความเย็นมันก็ควบแน่นกลาย เป็นของเหลวแอลกอฮอล์
        การกลั่น ก็คือ วิธีที่สูงขึ้นมาอีกขั้นจากการหมัก โดยนำเอาเครื่องดื่มหมักเสร็จเรียบร้อยแล้ว มากลั่นเพื่อแยกแอลกอฮอล์ ออกจากน้ำ ยกตัวอย่าง เครื่องดื่มที่ได้จากการกลั่น คือ บรั่นดี วิสกี้ จิน วอดก้า
3. เครื่องดื่มที่ได้จากการกลั่นโดยมีการปรุงแต่งเพิ่มเติม
หลังจากการกลั่นเรียบร้อยแล้ว มีการปรุงแต่งรสชาติเพิ่มเติม เพื่อให้มีเครื่องดื่มหลากหลาย ตัวอย่างเครื่องดื่มที่ได้จากการกลั่น โดยมีการปรุงแต่งเพิ่มเติม คือ คาฮ์ลัว ( Kahlua ) ซึ่งจะมีรสกาแฟทริเปิ้ล เซค ( Triple Sec ) จะมีรสส้ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น